ห้องเรียนภาษาไทย

ภาษาไทยน่ารู้

ประวัติวันภาษาไทย

วันภาษาไทยแห่งชาติ วันที่ 29 กรกฎาคมของทุกปี ได้เริ่มจัดงานเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2542 จุดเริ่มต้นของวันภาษาไทยแห่งชาติมีที่มาจากเมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรเสด็จพระราชดำเนินทรงอภิปรายในหัวข้อ “ปัญหาการใช้คำไทย” ในการประชุมวิชาการของชุมนุมภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2505  

วันภาษาไทยแห่งชาติ 2566

ความเป็นมาของวันภาษาไทยแห่งชาติ

    สืบเนื่องจากเมื่อ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นประธานและทรงอภิปรายเรื่อง “ ปัญหาการใช้คำไทย ” ร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิในการประชุมทางวิชาการของชุมนุมภาษาไทย คณะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสตอนหนึ่งความว่าณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งทรงแสดงพระปรีชาสามารถและความสนพระราชหฤทัยห่วงใยในภาษาไทย จนเป็นที่ประทับใจผู้ร่วมประชุมครั้งนั้นเป็นอย่างยิ่ง   

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสตอนหนึ่งความว่า...

     “...เรามีโชคดีที่มีภาษาของตนเองแต่โบราณกาล จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะรักษาไว้ ควรจะใช้คำเก่าๆ ที่เรามีอยู่แล้ว ไม่ควรจะมาตั้งศัพท์ใหม่ให้ยุ่งยาก…” ปัญหาเฉพาะในด้านรักษาภาษาก็มีหลายประการ อย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในทางออกเสียง คือให้ออกเสียงให้ถูกต้องชัดเจน อีกอย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในวิธีใช้ หมายความว่าวิธีใช้คำมาประกอบประโยค นับเป็นปัญหาที่สำคัญ ปัญหาที่สามคือความร่ำรวยในคำของภาษาไทย ซึ่งพวกเรานึกว่าไม่ร่ำรวยพอ จึงต้องมีการบัญญัติศัพท์ใหม่มาใช้ … สำหรับคำใหม่ที่ตั้งขึ้นมีความจำเป็นในทางวิชาการไม่น้อย แต่บางคำที่ง่ายๆ ก็ควรจะมี

คุณค่าภาษาไทย

เป็นคนไทยต้องรักภาษาไทย
รักษาไว้ให้อยู่ได้เนานานหนอ
อย่าทำร้ายลายลักษณ์ที่ถักทอ
ที่แม่พ่ออนุรักษ์ตระหนักคุณ
*********
ภาษาไทยนั้นเป็นภาษาชาติ
อย่าประมาทใช้ผิดให้เคืองขุ่น
ครูท่านสอนสั่งไว้เลยนะคุณ
ความว้าวุ่นแห่งภาษาจะมากมี
*********
ถ้าเมื่อใดไร้ภาษาที่มีอยู่
คงอดสูอายเขาไปทุกที่
และอาจสิ้นชาติไทยไปด้วยซี
เพราะวิถีชีวีที่เปลี่ยนไป
*********
ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีค่า
มากยิ่งกว่านพรัตน์เป็นไหน ไหน
มวลหมู่แก้วถึงมีค่ากว่าสิ่งใด
คงมีได้แค่เพียงค่าราคาเงิน
*********
แต่คุณค่าของภาษามีสูงส่ง
ช่วยดำรงความเป็นชาติไม่ขัดเขิน
เพราะภาษาแสดงลักษณ์จำหลักเกิน
กว่าค่าเงินตรา...แต่สง่าอยู่ที่ใจ
*********
เป็นคนไทยต้องรักภาษาไทย
รักษาให้อยู่นานนานจะได้ไหม
อย่าทำลายภาพลักษณ์ความเป็นไทย
โดยที่ไม่รู้ค่าภาษาเอย ฯ

แต่งโดย :  อรุโณทัย  ประพันธ์

 คนไทยเป็นผู้ที่โชคดีที่มีภาษาของตนเอง เเละมีอักษรไทย เป็นตัวอักษร ประจำชาติ อันเป็นมรดกล้ำค่าที่บรรพบุรุษได้สร้างไว้ ซึ่งเป็นเครื่องเเสดงว่าไทยเราเป็นชาติที่มีวัฒนธรรมสูงส่งมาเเต่โบราณกาล เเละยั่งยืนมาจนปัจจุบัน คนไทยผู้เป็นเจ้าของภาษา ควรภาคภูมิใจที่ชาติไทยใช้ภาษาไทย เป็นภาษาประจำชาติมากว่า 700 ปีเเล้ว เเละจะยั่งยืนตลอดไป ถ้าทุกคนตระหนักในความสำคัญของภาษาไทย 

เรื่องย่อ มหาชาติชาดก กัณฑ์มัทรี

 จากการที่ชูชกได้ไปขอกัณหา ชาลีกับพระเวสสันดรแล้วพระองค์ทรงยกให้ เมื่อชูชกพาสองกุมารไปแล้ว พระอินทร์จึงเห็นว่าถ้าพระนางมักทรีกลับมาแต่กลางวันจะตามไปทัน และจะไปขัดการให้ทานของพระเวสสันดร จึงให้เทวดา 3 องค์ แปลงกายเป็น เสือโคร่ง เสือเหลือง และราชสีห์ไปขวางทางไว้ พอพระนางมัทรีกลับมาก็ไม่เจอกับพระกุมารทั้ง 2 จึงไปถามพระเวสสันดร แต่ไม่ได้คำตอบ เนื่องจากพระเวสสันดรเห็นนางกลับมาเหนื่อย ๆ กลัวว่าจะเสียใจจนถึงแก่ชีวิต จึงบ่ายเบี่ยง ทำทีเป็นหึงหวงที่นางกลับช้า หาว่าไปมีชู้อยู่ในป่าและไม่ยอมเจรจากับนางอีกเลย นางมัทรีจึงออกตามหาพระกุมารตลอดทั้งคืนจนถึงรุ่งเช้า ด้วยความอ่อนเพลียจึงสลบไป พระเวสสันดรมาเห็นก็ตกพระทัย คิดว่านางสิ้นใจ จึงเสียใจเป็นอย่างมาก แต่พอได้สติก็ทำให้รู้ว่านางแค่สลบไป จึงยกศีรษะของนางมาวางบนตักแล้วเอาน้ำรดที่หน้าผาก เมื่อพระนางฟื้นก็ถามถึงพระกุมาร พระเวสสันดรจึงบอกความจริง และขอให้ทานช่วยอนุโมทนาทาน